ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง
- ชื่อวัด: วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง
- ประเภทวัด: พระอารามหลวง
- นิกาย: ธรรมยุต
- ที่ตั้ง: เลขที่ 84 หมู่ 6 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสไปษณีย์ 53210
- เนื้อที่: 182
ประวัติความเป็นมา
พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์ เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง เป็นที่เชื่อกันมาแต่โบราณว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปนี้
ได้เสด็จและจะได้เสด็จมาประทับนั่งบนพระแท่นแห่งนี้ เพื่อเจริญภาวนา และได้ประทับยับยั้งในเวลาที่ตรัสรู้แล้ว เพื่อโปรดสรรพสัตว์
ซึ่งแสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์นี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างต่อเนื่อง ในพระพุทธศาสนามายาวนาน ตัวพระแท่นเป็นศิลาแลง
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 8 ฟุต ยาวประมาณ 10 ฟุต สูง 3 ฟุต ที่ฐานพระแท่นประดับด้วยลายกลีบบัวโดยรอบ
มีพระมณฑป ศิลปะเชียงแสนครอบ อยู่ภายในพระวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์
เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ เป็นวัดโบราณ ปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดารในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์เมื่อปี พ.ศ.2283 แสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว เป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง
• เมื่อปีพ.ศ. 2451 ไฟไหม้ป่ามณฑปและวิหารเหลือแต่แท่นศิลาแลง รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ บานประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ที่เคยเป็นไม้แกะสลักนั้น เคยเป็นประตูวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน
• สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พระแท่นศิลาอาสน์อาจมีมาก่อนแล้วช้านาน ก่อนที่พระเจ้าบรมโกศเสด็จไปบูชา เพราะพระแท่นศิลาอาน์อยู่ริมเมืองทุ่งยั้ง ซึ่งตั้งมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย และบางทีชื่อทุ่งยั้งนั่นเอง จะเป็นนิมิตให้เกิดมีพระแท่นเป็นที่พระพุทธเจ้าประทับยับยั้ง เมื่อเสด็จผ่านมาทางนั้น
• ในทางตำนานมีคติทีเชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จยังพื้นที่ใดๆ ภายนอกอินเดียด้วยอิทธิฤทธ์ฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดย์ หรือตรัสพยากรณ์อะไรไว้ใน ณ แห่งนั้น เป็นคติที่เกิดในลังกาทวีป และประเทศอื่นได้รับเอาไปเชื่อถือด้วย จึงเกิดมีเจดีย์วัตถและพุทธพยาการณ์ ที่อ้างว่าพระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์ไว้มากบ้างน้อยบ้างทุกประเทศ เฉพาะเมืองไทยมีปรากฎในพงศาวดาร โดยลำดับมาว่า พบรอยพระพุทธบาท ณ ไหล่เขาสุวรรณบรรพต เมื่อรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม รัชกาลพระเจ้าเสือได้เสด็จไปบูชา พระพุทธฉาย ณ เขาปัถวี และ พระบรมโกศ เสด็จไปบูชาพระแท่นศิลาอาสน์
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระแท่นศิลาอาสน์อาจมีมาก่อนแล้วช้านาน ก่อนที่พระเจ้าบรมโกศเสด็จไปบูชา เพราะพระแท่นศิลาอาสน์
อยู่ริมเมืองทุ่งยั้งซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยอาณาจักรเชียงแสนก่อนสุโขทัย และบางทีชื่อทุ่งยั้งนั้นเอง จะเป็นนิมิตให้เกิดมีพระแท่น เป็นที่พระพุทธเจ้าประทับยับยั้ง
เมื่อเสด็จผ่านมาทางนั้น ในทางตำนานมีคติที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จยังประเทศต่าง ๆ ภายนอกอินเดียด้วยอิทธิฤทธิ์ฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดีย์ หรือ
ตรัสพยากรณ์อะไรไว้ในประเทศเหล่านั้น เป็นคติที่เกิดในลังกาทวีป และประเทศอื่นได้รับเอาไปเชื่อถือด้วย จึงเกิดมีเจดีย์วัตถุและพุทธพยาการณ์ ที่อ้างว่า
พระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์ไว้ มากบ้าง น้อยบ้างทุกประเทศ เฉพาะเมืองไทย มีปรากฏในพงศาวดารโดยลำดับมาว่า พบรอยพระพุทธบาท
ณ ไหล่เขาสุวรรณบรรพต เมื่อรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม รัชกาลพระเจ้าเสือได้เสด็จไปบูชาพระพุทธฉาย ณ เขาปัถวี และพระเจ้าบรมโกศ เสด็จไปบูชาพระแท่นศิลาอาสน์
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า นายช่างที่สร้างวิหาร วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝาง และวัดสุทัศน์ เป็นนายช่างคนเดียวกัน บานประตูเก่าของพระวิหารเป็นไม้แกะสลักฝีมือดี
แกะไม้ออกมาเด่น เป็นลายซ้อนกันหลายชั้น แม่ลายเป็นก้านขด ปลายเป็นรูปภาพต่าง ๆ เป็นลายเดียวกับลายบานมุขที่วิหารพระพุทธชินราช อาจสร้างแต่ครั้งพระเจ้าติโลกราช
กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านนา เคียงคู่กับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้น ต่อมาพระเจ้าบรมโกศมีพระราชศรัทธา
ให้ทำประตูมุขตามลายเดิมถวายแทน แล้วโปรดให้เอาบานเดิมนั้นไปใช้เป็นบานวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ประตูวิหารเก่าบานดังกล่าวได้ถูกไฟไหม้ไปเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2451
เป็นไฟป่าลุกลามไหม้เข้ามาถึงวัด ไฟไหม้ครั้งนั้น เหลือกุฏิซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อธรรมจักรอยู่เพียงหลังเดียว ต่อมาพระยาวโรดมภักดีศรีอุตรดิตถ์นคร (อั้น หงษนันท์) เจ้าเมืองอุตรดิตถ์
ได้เรี่ยไรเงินสร้างและซ่อมแซมวิหาร ภายในวิหารมีซุ้มมณฑปครอบพระแท่นศิลาอาสน์ไว้
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• วัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ. 2547
• วัดพัฒนาดีเด่น พ.ศ. 2549
• วัดพระอารามหลวง ไม่ทราบวันเวลา
ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560
การจัดการศึกษาภายในวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง
การจัดการศึกษาภายในวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวงนั้น จะประกอบไปด้วย
- จัดการศึกษาแผนกธรรม
- โครงการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
- สถานที่อบรมธรรม
- สวนปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ร.๙
- หน่วยเผยแพร่ศีลธรรม/ศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชน
- แหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณสถาน
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แหล่งการเรียนรู้ศีลธรรมในวัด